บบที่3

  บทที่3 
การศึกษาและวิเคราะห์


ศึกษาสภาพปัญหา

        การเรียนการสอนในปัจจุบันนั้นมีพัฒนาการขึ้นมาก จากการเรียนการสอนในห้องเรียน เท่านั้นโดยมีผู้สอนเป็นศูนย์กลางคอยให้คำแนะนำ จัดการเนื้อหาให้เรียนรู้ พัฒนาสู่การเรียน ภาคปฏิบัติเพื่อเสริมสร้างประสบการณ์ในการเรียนรู้ ซึ่งจะเป็นการเรียนการสอนและการปฏิบัติงาน ที่เกิดขึ้นในห้องเรียนหรือห้องปฏิบัติงานเท่านั้น ในปัจจุบันการเรียนการสอนถูกพัฒนาขึ้นในรูปแบบที่ ทันสมัยขึ้นและเอื้อประโยชน์ในการศึกษามากขึ้นนั้นคือระบบการศึกษาทางไกล          เช่น อีเลินนิงผ่าน อินเตอร์เน็ต ระบบถ่ายทอดวีดีโอการเรียนรู้ผ่านดาวเทียม ชุดการสอนเรียนรู้     ด้วยตัวเอง ซึ่งอำนวยความสะดวกในการศึกษาคือ ไม่ต้อง เดินทาง สามารถเรียนย้อนหลังได้ และสําหรับผู้สอนนั้นไม่ต้องสอนหลายรอบหากมีการสอน นักศึกษาหลายสถานที่ และ ชุดการสอนสามารถพัฒนาให้มีการใช้งานง่าย และนำมาใช้ในการเรียนการสอนได้อย่างสะดวก
กำหนดกลุ่มประชากรและตัวอย่าง
             กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
                ประชากรที่ใช้ในการหาประสิทธิภาพการการพัฒนาชุดการสอน เรียนรู้ด้วยตัวเอง เรื่อง การใช้โปรแกรมตัดต่อวีดีโอ          สำหรับนิสิต ปริญญาตรีคณะศึกษาศาสตร์ ชั้นปีที่ 1  ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี จำนวน 2 ห้องเรียน จำนวนผู้เรียน 60 คน
                    กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
                กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง คือ นิสิต ปริญญาตรีคณะศึกษาศาสตร์ ชั้นปีที่ 1 จังหวัดชลบุรี โดยการจับสลาก                             เลือกห้องมา ห้องเรียน  จาก ห้องเรียน จำนวน 30 คน และเลือกนักเรียน โดยในแต่ละครั้งจะแบ่งจำนวนคนไม่ซ้ำกันดังนี้
                การทดลองครั้งที่  
ใช้กลุ่มตัวอย่าง  จำนวน     3    คน
                การทดลองครั้งที่  
ใช้กลุ่มตัวอย่าง  จำนวน     9    คน
                การทดลองครั้งที่  
ใช้กลุ่มตัวอย่าง   จำนวน    30  คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

                ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาชุดการสอน เรื่อง การใช้โปรแกรมตัดต่อวีดีโอ สำหรับนิสิตปริญญาตรีคณะศึกษาศาสตร์ ชั้นปีที่ 1 ซึ่งผู้วิจัยได้กำหนดเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยไว้ดังนี้

1.  ชุดการสอนเรื่องการตัดต่อวีดีโอด้วยโปรแกรม Movie Maker
2.  แบบทดสอบก่อนเรียน หลังเรียน
3.  แบบสอบถามความพึงพอใจ ที่มีต่อชุดการสอน เรื่อง การใช้โปรแกรมตัดต่อวีดีโอ สำหรับนิสิตปริญญาตรีคณะศึกษาศาสตร์      ชั้นปีที่ 1

ขั้นตอนการพัฒนาเครื่องมือและสร้างสื่อ
                1. ชุดการสอน เรียนรู้ด้วยตัวเอง เรื่อง การใช้โปรแกรมตัดต่อวีดีโอ สำหรับนิสิต ปริญญาตรีคณะศึกษาศาสตร์ ชั้นปีที่ 1 
ชุดการสอน เรียนรู้ด้วยตัวเอง เรื่อง การใช้โปรแกรมตัดต่อวีดีโอมีลักษณะการนำเสนอเนื้อหาเป็นหน่อยย่อยๆ ที่ผู้เรียนสามารถปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับบทเรียนได้ มีแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนเพื่อให้ผู้เรียนได้ทบทวนความรู้ และมีแบบฝึกทักษะเพื่อเสริมความรู้ และมีใบความรู้เพื่อให้ผู้เรียนได้ศึกษา

- ขั้นการเตรียมการ ( Preparation)
            ขั้นตอนการเตรียมนี้ จะต้องเตรียมพร้อม ในเรื่องของ ความชัดเจน ในการกำหนดเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ เตรียมการโดย รวบรวมข้อมูล เรียนรู้เนื้อหา เพื่อให้เกิดการสร้าง หรือระดมความคิด ขั้นตอนการเตรียมนี้ เป็นขั้นตอนที่สำคัญ มากตอนหนึ่ง ต้องใช้เวลา ให้มาก เพราะการเตรียมพร้อม ในส่วนนี้ จะทำให้ขั้นตอนต่อไป ในการออกแบบ เป็นไปอย่างต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพ
- กำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์ ( Determine Goal Objectives) การกำหนดเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ ของบทเรียน คือการตั้งเป้าหมายว่า ผู้เรียนจะสามารถ ใช้บทเรียนนี้ เพื่อศึกษาในเรื่องใด และลักษณะใด คือ เป็นบทเรียนหลัก เป็นบทเรียนเสริม เป็นแบบฝึกหัดเพิ่มเติม หรือเป็นแบบทดสอบ ฯลฯ รวมทั้งการกำหนด วัตถุประสงค์ ในการเรียน ว่า เมื่อผู้เรียน เรียนจบแล้ว จะสามารถทำอะไรได้บ้าง และพิจารณาครอบคลุม ถึงวิธีการในการ ประเมินผล ควบคู่กันไป เช่น รูปแบบคำถาม หรือจำนวนข้อคำถาม
- รวบรวมข้อมูล (Collect Resource) การรวบรวมข้อมูล หมายถึง การเตรียมพร้อมทางด้าน ทรัพยากรทั้งหมด ที่เกี่ยวข้อง ทั้งในส่วนเนื้อหา การพัฒนา และออกแบบบทเรียน และสื่อ ในการเสนอบทเนียน ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา รวมถึง ตำรา หนังสือ วารสารทางวิชาการ หนังสืออ้างอิง สไลด์ ภาพต่างๆ
- เรียนรู้เนื้อหา ( Learn Content) ผู้ออกแบบชุดการสอน จำเป็นต้องเรียนรู้เนื้อหาด้วย การเรียนรู้เนื้อหา อาจทำได้หลายลักษณะ เช่น สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ การอ่านหนังสือ หรือเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับ เนื้อหาของบทเรียน การเข้าใจเนื้อหา อย่างถูกต้อง ลึกซึ้ง ทำให้สามารถ ออกแบบบทเรียน ในลักษณะที่ท้าทาย ผู้เรียน ในการสร้างสรรค์ ได้
- สร้างความคิด (Generate Ideas) การสร้างความคิด คือ การระดมสมอง ซึ่งหมายถึง การกระตุ้นให้เกิดการใช้ความคิดสร้างสรรค์ เพื่อให้ได้ข้อคิดเห็นต่างๆ จำนวนมาก จากทีมงาน ในระยะเวลาอันสั้น เพื่อให้ได้ข้อคิดเห็นต่างๆ อันจะนำมาซึ่ง แนวคิดที่ดี น่าสนใจ
2. ขั้นตอนการออกแบบบทเรียน ( Design Instruction)
- ทอนความคิด ( Elimination of Ideals) หลังจากระดมสมองแล้ว นักออกแบบ จะนำความคิด ทั้งหมด มาประเมินดูว่าข้อคิดใดที่น่าสนใจ การทอนความคิด เริ่มจากการนำข้อคิด ที่ไม่อาจปฏิบัติได้ออกไป และรวบรวมความคิดที่น่าสนใจ ที่เหลืออยู่นั้น มาพิจารณาอีกครั้ง ซึ่งในช่วงการพิจารณาอีกครั้ง อาจรวมไปถึง การซักถาม อภิปรายถึงรายละเอียด และขัดเกลา ข้อคิดต่างๆ
- วิเคราะห์งาน และแนวคิด ( Task and Concept Analysis) การวิเคราะห์งาน เป็นการวิเคราะห์ขั้นตอน เนื้อหา ที่ผู้เรียน จะต้องศึกษา จนทำให้เกิดการเรียนรู้เพียงพอ ส่วนการวิเคราะห์แนวคิด คือขั้นตอนในการวิเคราะห์เนื้อหา ซึ่งผู้เรียนต้องศึกษาอย่างพินิจพิจารณา ทั้งนี้เพื่อให้ได้มาซึ่ง เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการเรียน และเนื้อหาที่มีความชัดเจนเท่านั้น การคิดวิเคราะห์เนื้อหา อย่างละเอียด รวมไปถึงการนำเนื้อหาทั้งหมด ที่เกี่ยวข้อง มาพิจารณา อย่างละเอียด และตัดเนื้อหาในสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องออกไป หรือที่ทำให้ผู้เรียนสับสนได้ง่ายออกไป การวิเคราะห์งาน และการวิเคราะห์แนวคิด ถือว่าเป็นการวิเคราะห์ ที่มีความสำคัญมาก ทั้งนี้ เพื่อหาลักษณะการเรียนรู้ ( Principles of learning ) ที่เหมาะสมของเนื้อหานั้นๆ และเพื่อให้ได้มา ซึ่งแผนงาน สำหรับออกแบบบทเรียนที่มีประสิทธิภาพ
- การออกแบบชุดการสอนขั้นแรก ผู้ออกแบบ จะต้องนำงาน และแนวคิดทั้งหลาย ที่ได้มานั้น มาผสมผสานให้กลมกลืน และอกแบบให้เป็นบทเรียนมีประสิทธิภาพ โดยผสมผสานงาน และแนวคิดเหล่านี้ จะต้องทำภายใต้ทฤษฎี การเรียนรู้ โดยวิเคราะห์การเรียน การสอน ซึ่งประกอบด้วย การกำหนดประเภท ของการเรียนรู้ การกำหนดขั้นตอน และสุดท้ายคือ การจัดระบบความคิด เพื่อให้ได้มาซึ่ง การออกแบบลำดับ ( sequence) ของบทเรียนที่ดีที่สุด ผู้ออกแบบควรใช้เวลา ในส่วนนี้ให้มากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการสร้างสรรค์งาน หรือกิจกรรมต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ที่ผู้เรียนต้องมีปฎิสัมพันธ์ด้วย เพื่อให้ผู้เรียนมีความสนใจต่อการเรียนได้อย่างสม่ำเสมอ และต่อเนื่อง นอกจากนี้ ต้องใช้เวลาให้มาก ในส่วนของการออกแบบลำดับของการนำเสนอของบทเรียน เพื่อให้ได้มาซึ่ง โครงสร้างของ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ที่สามารถ ตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลของ ผู้เรียนได้จริง
- ประเมิน และแก้ไขการออกแบบ ( Evaluation and revision of the design) การประเมินระหว่างการออกแบบ เป็นสิ่งที่มีความสำคัญมาก ในการออกแบบบทเรียน อย่างมีระบบ หลังจากการออกแบบแล้ว ควรมีการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญเนื้อหา ผู้เชี่ยวชาญการออกแบบ และโดยผู้เรียน การประเมินนี้ อาจหมายถึง การทดสอบว่า ผู้เรียน จะสามารถบรรลุเป้าหมายหรือไม่ การรวบรวมทรัพยารกรทางด้านข้อมูลต่างๆ มากขึ้น การหาความรู้เกี่ยวกับเนื้อหา เพิ่มขึ้น การทอนความคิดออกไปอีก การปรับแก้ การวิเคราะห์งาน หรือการเปลี่ยนประเภทของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
- ขั้นตอนการผลิตเอกสารประกอบบทเรียน ( Design Instruction)
  เอกสารประกอบบทเรียน อาจแบ่งได้เป็น 4 ประเภท คือ คู่มือการใช้ของผู้เรียน คู่มือการใช้ของผู้สอน คู่มือสำหรับแก้ปัญหา เทคนิคต่างๆ และเอกสารประกอบเพิ่มเติมทั่วๆ ไป ผู้สอนอาจต้องการข้อมูล เกี่ยวกับ การติดตั้งโปรแกรม การเข้าไปดูข้อมูลผู้เรียน และการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ในหลักสูตร ผู้เรียนอาจต้องการข้อมูล ในการจัดการกับบทเรียน และการสืบไปในบทเรียน คู่มือปัญหา เทคนิค ก็มีความจำเป็น หากการติดตั้งบทเรียน มีความสลับซับซ้อน หรือต้องการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์อื่นๆ เช่น การติดตั้ง แลน เอกสารเพิ่มเติมประกอบ อาจได้แก่ แผนภาพ ข้อสอบ ภาพประกอบ
- ขั้นตอนการประเมิน และแก้ไข บทเรียน ( Evaluate and Revise)
ในช่วงสุดท้าย เป็นการประเมินบทเรียน และเอกสารประกอบทั้งหมด โดยเฉพาะ การประเมินในส่วนของการนำเสนอ และการทำงานของบทเรียน ในส่วนของการนำเสนอนั้น ผู้ที่ควรจะทำการประเมินคือ ผู้ที่เคยมีประสบการในการ ออกแบบมาก่อน ในการประเมินการทำงานของบทเรียนนั้น สังเกตพฤติกรรมของผู้เรียน ที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย ในขณะที่ใช้บทเรียน หรือสัมภาษณ์ ผู้เรียน หลังการใช้บทเรียน นอกจากนี้ ยังอาจทดสอบ ความรู้ขอผู้เรียน หลังจากที่ได้เรียน จากคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนั้นๆ แล้ว ขั้นตอนนี้ อาจครอบคลุม การทดสอบนำร่อง และประเมินจากผู้เชี่ยวชาญ

2. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 
เนื่องจากชุดการสอน เรียนรู้ด้วยตัวเอง เรื่อง การใช้โปรแกรมตัดต่อวีดีโอ สำหรับนิสิต ปริญญาตรีคณะศึกษาศาสตร์ ชั้นปีที่ 1 เป็นชุดการสอนที่มีแบบทดสอบ ประกอบอยู่ด้วยแล้ว ดังนั้นจึงสามารถทราบผลคะแนนของผู้เรียนได้ทันที เมื่อทราบคะแนนจึงเอาข้อมูลคะแนนต่างๆมาเปรียบเทียบเพื่อดูผลสัมฤทธิ์ได้เลย 
โดยใช้
         การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้สูตร 
t-test Dependent
(ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ.2538
                                                     กำ เมื่อ   df   =   n - 1


                                                                        ประสิทธิภาพของชุดการสอน

        ประสิทธิภาพของชุดการสอนหมายถึงความสามารถของชุดการสอนในการสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ถึงระดับเกณฑ์ที่คาดหวังได้การกำหนดเกณฑ์ประสิทธิภาพกระทำได้ โดยใช้สูตรคือ

วิธีการคำนวณหาประสิทธิภาพโดยใช้สูตร  ต่อไปนี้

สูตรที่ 1 E1 = 100



เมื่อ   E1    คือ   ประสิทธิภาพของกระบวนการ
Σ x   คือ   คะแนนรวมของแบบฝึกหัด หรืองาน
A      คือ   คะแนนเต็มของแบบฝึกหัดทุกชิ้นรวมกัน
               N      คือ  จำนวนผู้เรียน

สูตรที่ 2 E2 = 100


เมื่อ   E2   คือ   ประสิทธิภาพของผลลัพธ์
ΣF  คือ   คะแนนรวมของการสอบหลังเรียน
B     คือ   คะแนนเต็มของการสอบหลังเรียน
N    คือ  จำนวนผู้เรียน

 แบบประเมินความพึงพอใจชุดการสอน      

            เนื่องจากชุดการสอน เรียนรู้ด้วยตัวเอง เรื่อง การใช้โปรแกรมตัดต่อวีดีโอ สำหรับนิสิต ปริญญาตรีคณะศึกษาศาสตร์ ชั้นปีที่ 1  เป็นชุดการสอน ที่ได้จัดทำขึ้นมาใหม่ จึงต้องการที่จะทราบถึงผลตอบรับ ความพึงพอใจและข้อบกพร่องต่างๆเพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไข จึงต้องมีการประเมินความพึงพอใจชุดการสอน เรียนรู้ด้วยตัวเอง เรื่อง การใช้โปรแกรมตัดต่อวีดีโอ สำหรับนิสิต ปริญญาตรีคณะศึกษาศาสตร์ ชั้นปีที่ 1
แบบประเมินชุดการสอน
ชุดการสอนเรื่อง “ การผลิตสื่อวีดิโอด้วยโปรแกรม  Windows Live Movie maker ”


ข้อความ

ระดับความคิดเห็น
มากที่สุด

มาก

ปานกลาง

น้อย

น้อยที่สุด

1.
เนื้อหาการนำเสนอ






1.1
เนื้อหามีความสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายเชิงพฤติกรรม..
........
......
.........
......
........

1.2
ความถูกต้องของเนื้อหา......................................
........
......
.........
.........
.........

1.3
ความถูกต้องในการลำดับเนื้อหาตามขั้นตอน.......
........
......
.........
.........
.........

1.4
ความสอดคล้องของเนื้อหาแต่ละตอน.................
........
......
.........
.........
.........

1.5
ความชัดเจนในการอธิบายเนื้อหา........................
.........
......
..........
..........
..........

1.6
ความชัดเจนในการสรุปเนื้อหา............................
.........
......
..........
..........
..........
2.
ภาพและภาษา






2.1
ความถูกต้องของภาพที่นำมาใช้...........................
........
......
.........
......
........

2.2
ความถูกต้องของภาษาที่ใช้.................................
........
......
.........
.........
.........

2.3
ความสอดคล้องระหว่างภาพกับคำบรรยาย..........
........
......
.........
.........
.........
3.
เวลา






3.1
ความเหมาะสมของเวลากับเนื้อหา.......................
........
........
........
........
........

3.2
ความเหมาะสมของเวลากับคำบรรยาย................
........
........
........
........
........

3.3
ความเหมาะสมกับเวลาในการนำเสนอชุดการสอน
........
........
........
........
........
4.
แบบทดสอบก่อนและหลังเรียน






4.1
การตั้งคำถามของแบบทดสอบครอบคลุมเนื้อหา...
........
........
........
........
........

4.2
คำถามมีความชัดเจนเข้าใจง่าย...........................
........
........
........
........
........

4.3
แบบทดสอบมีความสามารถวัดความรู้ ความเข้าใจ...
........
........
........
........
........

                                                                                                                                             
โดยใช้สูคร  ค่าเฉลี่ย (X ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เพื่อหาความพึงพอใจชุดการสอน
                
สูตรการหาค่าเฉลี่ย
  สูตรการหาส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


มีเกณฑ์ดังนี้1.50 – 2.00  หมายถึง     มีความพึงพอใจ อยู่ในระดับ              ควรปรับปรุง2.01 - 2.49   หมายถึง       มีความพึงพอใจ อยู่ในระดับ             น้อย
2.50 - 3.00   หมายถึง       มีความพึงพอใจ อยู่ในระดับ            ปานกลาง
3.01 - 3.49   หมายถึง       มีความพึงพอใจ อยู่ในระดับ            มาก
3.50 - 4.00   หมายถึง       มีความพึงพอใจ อยู่ในระดับ            มากที่สุด

วิธีการดำเนินการ

ผู้วิจัยได้ดำเนินการทดลอง ใช้เวลา ทดลองทั้งหมด ครั้ง ครั้งละ 1 ชั่วโมง เป็นเวลา  3  วัน โดยได้นำ  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 
1.  ชุดการสอนเรื่องการตัดต่อวีดีโอด้วยโปรแกรม Movie Maker
2.  แบบทดสอบก่อนเรียน หลังเรียน
3.  แบบสอบถามความพึงพอใจ ที่มีต่อชุดการสอน เรื่อง การใช้โปรแกรมตัดต่อวีดีโอ สำหรับนิสิตปริญญาตรีคณะศึกษาศาสตร์ 
ชั้นปีที่ 1

ได้ทดลองตามแผน และเก็บข้อมูลเพื่อมาดำเนินการ  คิดวิเคราะห์ และปรับปรุงต่อไป 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น