บทที่2

บทที่2   เอกสารที่เกี่ยวข้อง



ชุดการสอน

                       ความหมายชุดการสอน

                                ชุดการสอนหรือชุดการเรียนรู้  เดิมมักใช้คำว่าชุดการสอน เพราะเป็นสื่อที่ผู้สอนนำมาใช้ประกอบการสอนแต่ต่อมาแนวคิดการในการยึดเด็กเป็นศูนย์กลางการเรียนได้เข้ามามีอิทธิพลมากขึ้น จึงมีผู้เรียกชุดการสอนเป็นชุดการเรียนมากขึ้น บางคนมักเรียกรวมกันว่าชุดการเรียนการสอนก็มี ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ได้ใช้คำว่าการเรียนรู้เป็นคำหลักสำคัญ เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายของการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 มาตรา ที่ 22 ที่ว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนสำคัญที่สุด ดังนั้นจึงใช้คำว่า “ชุดการจัดการเรียนรู้” เพื่อที่จะให้สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 สำหรับชุดการสอนหรือชุดกิจกรรม เป็นสื่อประสมที่มีความสมบูรณ์ในตัวเอง แต่ละชุดการสอนที่สร้างขึ้นจะมีประสิทธิภาพเชื่อถือได้หรือไม่ จำเป็นต้องเอาวิธีวิเคราะห์ระบบมาใช้ เพื่อหาความเชื่อมั่นของชุดการสอน ได้มีนักการศึกษาหลายท่านที่ให้รายละเอียดของความหมาย วิธีการทำชุดการสอน เช่น
          สุดารัตน์ ไผ่วงศาวงค์ชุดการสอน หมายถึง สื่อการสอนที่ผู้สอนสร้างขึ้นด้วยวัสดุอุปกรณ์หลายชนิด เพื่อให้ผู้เรียนได้ศึกษาและปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนอง เกิดการเรียนรู้ด้วยตนอง โดยผู้สอนเป็นผู้ให้คำแนะนำช่วยเหลือ และมีการนำหลักการทางจิตวิทยามาใช้ประกอบเพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนได้รับความสำเร็จ
กุศยา  แสงเดช สรุปว่า ชุดการสอนเป็นสื่อการสอนที่จัดอย่างมีระบบ       โดยให้สอดคล้องกับเนื้อหากลุ่มสาระการเรียนรู้และประสบการณ์ที่จัดไว้ในแต่ละหน่วย เพื่อช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเรียนรู้ ซึ่งอาจจัดไว้ในกล่องหรือซองเป็นหมวดๆ
              ระพินทร์ โพศรี สรุปว่าชุดการสอน คือ ระบบสื่อการเรียนรู้ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ประกอบการสอนของผู้สอน โดยผู้สอนเป็นฝ่ายอำนวยการ (Facilitator) และเสริมประสบการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน ช่วยให้ผู้เรียนมีความรู้และทักษะ บรรลุตามมาตรฐานการเรียนรู้ที่กำหนด
ฮุลตัน และคนอื่นๆ (วาสนา ชาวหา2525หน้า 140อ้างอิงจาก Houston and other. 1972, p.244) ได้กล่าวถึงองค์ประกอบของชุดการเรียนการสอน จะต้องประกอบด้วย
1. คำชี้แจง (Prospectus) ในส่วนนี้จะอธิบายถึงความสำคัญของจุดมุ่งหมายของขอบข่ายของชุดการเรียนการสอน สิ่งที่ผู้เรียนต้องมีความรู้ก่อนเรียน ขอบข่ายของกรระบวนการทั้งหมดในชุดการเรียนการสอน
2. จุดมุ่งหมาย (Objectives) คือ ข้อความที่แจ่มชัดไม่กำกวม ที่กำหนดว่าผู้เรียนจะประสบความสำเร็จอะไรหลังจากเรียนแล้ว
3. การประเมินผลเบื้องต้น (Pre-assessment) คือ เพื่อให้ทราบว่าผู้เรียนอยู่ในระดับในการเรียนได้รับผลสัมฤทธิ์ตามความมุ่งหมายเพียงใด
4. การกำหนดกิจกรรม (Engbling activities) คือ การกำหนดแนวทางและวิธีการเพื่อไปสู่จุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ โดยที่ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมนั้นด้วย
5. การประเมินผลครั้งสุดท้าย (Post-assessment) เป็นข้อสอบวัดผลหลังจากที่เรียนแล้ว องค์ประกอบของชุดการเรียนการสอนต้องประกอบด้วย
 หัวข้อ (Topic)
 หัวข้อย่อย (Subtopic)
 จุดมุ่งหมายหรือหตุผล (Rationale)
 จุดมุ่งหมายชิงพฤติกรรม (Behavioral objective)
-  แบบทดสอบก่อนเรียน (Pre-test)
-  กิจกรรมและการประเมินผลตนเอง (Activities and self-evaluation)
-  การทดสอบย่อย (Quiz หรือ Formative test)
-  การทดสอบครั้งสุดท้าย (Post-test หรือ Summative evaluation)
การสอนรายบุคคล ซึ่งเป็นชุดของวัสดุทางการเรียนที่รวบรวมไว้อย่างเป็นระบบ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามเป้าหมาย

แนวคิดและทฤษฎีการสร้างชุดการสอน

เมื่อจะลงมือสร้างชุดการเรียนการสอน ผู้สร้างจะต้องรู้ถึงหลักการสร้างชุดการเรียนการสอนว่าจะต้องมีการดำเนินการอย่างไร ซึ่งก็ได้มีศึกษาหลายท่านที่ได้เสนอหลักในการสร้างชุดการเรียนการสอนไว้ดังนี้   ขั้นตอนสำคัญ ขั้น

            1. ขั้นการวางแผนดำเนินการ โดยศึกษาสาระของวิชาว่าต้องการหลักการเรียนรู้
อะไรจะทำชุดแบบใด โดยคำนึงถึงผู้เรียนเพื่อกำหนดหน่วยการเรียน มโนมติ จุดประสงค์ จัดลำดับ กิจกรรมการเรียน จัดทำสื่อการสอน ประเมินผลและทดลองสื่อการสอน
2. ขั้นตอนการผลิตโดยผลิตตามขั้นตอนที่ โดยผู้ผลิตควรตรวจสอบความ สอดคล้องของทุกขั้นตอนกำหนดเป้าหมายเพื่อแก้ปัญหา โดนสามารถปฏิบัติหรือเห็นการกระทำได้
             3. ขั้นทดสอบประเมินผล หรือพัฒนาเมื่อทำการผลิตชุดการสอนแล้ว โดยนำไปหาประสิทธิภาพ เมื่อเป็นหลักประกันว่า    ชุดการสอนนั้นมีคุณค่าที่จะนำไปสอน
1.             ขั้นปัญหาที่ต้องแก้ไขนั้นคืออะไร
2.             ขั้นกำหนดเป้าหมายเพื่อแก้ไขปัญหา โดยสามารถปฏิบัติหรือเห็นการกระทำได้
3.             ขั้นการสร้างเครื่องมือ กระทำหลังจากตั้งเป้าหมายแล้วเพื่อวัดได้ระยะ
4.             ขั้นกำหนดทางเลือกหรือวิธีแก้ปัญหา เพื่อใช้ดำเนินการให้บรรลุเป้าหมาย
5.             ขั้นทดลอง เพื่อเลือกวิธีที่ดีที่สุดใช้เป็นแนวทางไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้
6.             ขั้นวัดและประเมิน โดยนำเครื่องมือที่สร้างขึ้นมาประเมินว่าสามารถใช้ปฏิบัติงานตามเป้าหมายได้หรือไม่เพียงใด เพื่อปรับปรุงแก้ไข
   
ขั้นที่ 1 วิเคราะห์เนื้อหา ได้แก่ การกำหนดหน่วย หัวเรื่อง มโนคติ
ขั้นที่ 2 การวางแผน วางแผนไว้ล่วงหน้า กำหนดรายละเอียด
ขั้นที่ 3 การผลิตสื่อการเรียน เป็นการผลิตสื่อประเภทต่างๆ ที่กำหนดไว้ ในแผน
ขั้นที่ 4 หาประสิทธิภาพ เป็นการประเมินคุณภาพของชุดการเรียนการ สอนโดยนำไปทดลองใช้ ปรับปรุงให้มีคุณภาพตาม   เกณฑ์ที่ กำหนดไว้
      Heather (1977,p 343-344) ได้ให้ขั้นตอนการสร้างชุดการสอนด้วยตนเอง คือ
1.             ศึกษาหลักสูตร ตัดสินใจเลือกสิ่งที่จะนำให้ผู้เรียนได้ศึกษาแล้วจัดลำดับขั้นเนื้อหาให้ต่อเนื่องจากง่ายไปยาก
2.             ประเมินหาความรู้พื้นฐาน ประสบการณ์เดิมของผู้เรียน
3.             เลือกกิจกรรมการเรียนการสอนและสื่อการเรียนให้เหมาะสมกับผู้เรียน โดยคำนึงความพร้อมและความต้องการของผู้เรียน
4.             กำหนดรูปแบบการเรียน
5.             กำหนดหน้าที่ของผู้ประสานงานหรืออำนวยความสะดวกในการเรียน
6.             สร้างแบบประเมินผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนว่าบรรลุเป้าประสงค์ในการเรียนหรือไม่

 ความหมายคำว่าวีดีโอ

วิดีโอคลิป หรือ คลิปวิดีโอ คือ ไฟล์คอมพิวเตอร์ที่บรรจุเนื้อหาเป็นภาพยนตร์สั้นมักจะตัดต่อมาจากภาพยนตร์ทั้งเรื่องซึ่งมีขนาดความยาวปกติ คลิปมักจะเป็นส่วนที่สำคัญ หรือต้องการนำมาแสดง มีความขบขัน หรืออาจเป็นเรื่องความลับที่ต้องการนำมาเผยแพร่ จากต้นฉบับเดิม แหล่งของวิดีโอคลิป ได้แก่ ข่าว ข่าวกีฬา มิวสิควิดีโอ รายการโทรทัศน์ หรือภาพยนตร์ ปัจจุบันมีการใช้วิดีโอคลิปแพร่หลาย เนื่องจากไฟล์คลิปนี้มีขนาดเล็ก สามารถส่งผ่านอีเมล หรือดาวน์โหลดจากเว็บไซต์ได้สะดวก ในประเทศตะวันตก เรียกการแพร่หลายของวิดีโอคลิปนี้ว่าวัฒนธรรมคลิป
คำนี้มีความหมายกว้างๆ หมายถึง ภาพยนตร์สั้นแบบไหนก็ได้ ที่มีความยาวน้อยกว่ารายการโทรทัศน์
1.  คลิปวิดีโอคือ ไฟล์หนังที่ถูกแบ่งออกเป็นส่วน ๆ หรืออาจจะเป็นไฟล์หนังที่มีระยะเวลาในการเล่นไม่นานมากนัก โดยคลิปวิดีโอจะเป็นไฟล์ที่มีรูปแบบการบีบอัดข้อมูลที่แตกต่างกันไป  ตามโปรแกรมที่ผู้ผลิตสร้างขึ้นมา
2.   ถ้ามองในลักษณะของการใช้งานแล้วคลิป VDO นั้นก็คือ Multimedia ที่มีทั้งภาพและเสียง ขนาด  File  ไม่ใหญ่มากนักมีได้หลากหลายนามสกุล ทั้งที่ถ่ายจาก มือถือ และ เครื่องถ่าย VDO แต่นำมาตัดหรือลดคุณภาพลงเพื่อให้มีขนาดเล็ก สามารถส่งต่อกันได้ทั้งผ่านทาง email หรือ upload ไปไว้ที่ Youtube
      3.   คลิปวีดีโอคือ การถ่ายทำหรือจับภาพเป็นเวลาต่อเนื่องกันเพื่อนำมาดูหรือนำมาเผยแพร่
       4.  การบันทึกภาพเคลื่อนไหวเข้าไปเก็บไว้ในสื่อต่างๆ มักจะเป็นเรื่องสั้นๆ หรือ มุมกล้องเดียวของภาพยนตร์ ที่เรามักจะได้ยินคำว่า “คัท” ก็คือ หนึ่งคลิป ที่ถ่าย หลังจากนั้นก็จะนำเอาคลิปต่างๆ มาต่อรวมเข้ากัน เป็นภาพยนตร์ให้เราดู ซึ่งจะพบว่า หนังเรื่องหนึ่งที่ใช้เวลาดูประมาณ ชั่วโมง ก็มาจาก คลิปสั้นๆ นับร้อยคลิป หรือมากกว่านั้น ถ้าหากมีการตัดออกไป
สาเหตุ ที่เรียกว่าคลิป อาจจะมาจากการที่ นำเอาภาพยนตร์ที่ถ่ายเป็นส่วนย่อย  ๆ นี้มาเหน็บด้วยคลิปหนีบกระดาษเพื่อให้ต่อกันชั่วคราวก่อนที่จะต่อกันแบบถาวร
5.  ภาพเคลื่อนไหวที่มีเสียงมีระยะเวลาเล่นนานไม่เกิน25นาทีอาจเป็นภาพยนตร์ ที่ถูกจัดแบ่งเป็นส่วนๆเช่น หรือเป็น พาทค่ะ เช่น prat 1/10 ทำนองนี้ หรืออีกในความหนึ่งในทำนองเดียวกัน คลิปวิดีโอคือภาพเคลื่อนไหวที่มีเสียงซึ่งถูกบันทึกไว้ด้วยอุปกรต่างๆเช่น กล้องถ่ายวิดีโอ โทรศัพท์ซึ่งมีกล้องและแอฟฟิเคชั่นถ่ายวิดีโอหรืออุปกรณ์อื่น  ๆ  ความสั่นยาว ต่างกันไป
6.  ไฟล์ที่มีภาพและเสียงอยู่ในไฟล์เดียว มักมีขนาดไฟล์ไม่ใหญ่มาก เพราะระยะเวลาในการเล่นไม่นาน

คำนี้มีความหมายกว้างๆ หมายถึง ภาพยนตร์สั้นแบบไหนก็ได้ ที่มีความยาวน้อยกว่ารายการโทรทัศน์
1.  คลิปวิดีโอคือ ไฟล์หนังที่ถูกแบ่งออกเป็นส่วน ๆ หรืออาจจะเป็นไฟล์หนังที่มีระยะเวลาในการเล่นไม่นานมากนัก โดยคลิปวิดีโอจะเป็นไฟล์ที่มีรูปแบบการบีบอัดข้อมูลที่แตกต่างกันไป  ตามโปรแกรมที่ผู้ผลิตสร้างขึ้นมา
2.   ถ้ามองในลักษณะของการใช้งานแล้วคลิป VDO นั้นก็คือ Multimedia ที่มีทั้งภาพและเสียง ขนาด  File  ไม่ใหญ่มากนักมีได้หลากหลายนามสกุล ทั้งที่ถ่ายจาก มือถือ และ เครื่องถ่าย VDO แต่นำมาตัดหรือลดคุณภาพลงเพื่อให้มีขนาดเล็ก สามารถส่งต่อกันได้ทั้งผ่านทาง email หรือ upload ไปไว้ที่ Youtube
      3.   คลิปวีดีโอคือ การถ่ายทำหรือจับภาพเป็นเวลาต่อเนื่องกันเพื่อนำมาดูหรือนำมาเผยแพร่
       4.  การบันทึกภาพเคลื่อนไหวเข้าไปเก็บไว้ในสื่อต่างๆ มักจะเป็นเรื่องสั้นๆ หรือ มุมกล้องเดียวของภาพยนตร์ ที่เรามักจะได้ยินคำว่า “คัท” ก็คือ หนึ่งคลิป ที่ถ่าย หลังจากนั้นก็จะนำเอาคลิปต่างๆ มาต่อรวมเข้ากัน เป็นภาพยนตร์ให้เราดู ซึ่งจะพบว่า หนังเรื่องหนึ่งที่ใช้เวลาดูประมาณ ชั่วโมง ก็มาจาก คลิปสั้นๆ นับร้อยคลิป หรือมากกว่านั้น ถ้าหากมีการตัดออกไป
สาเหตุ ที่เรียกว่าคลิป อาจจะมาจากการที่ นำเอาภาพยนตร์ที่ถ่ายเป็นส่วนย่อย  ๆ นี้มาเหน็บด้วยคลิปหนีบกระดาษเพื่อให้ต่อกันชั่วคราวก่อนที่จะต่อกันแบบถาวร
5.  ภาพเคลื่อนไหวที่มีเสียงมีระยะเวลาเล่นนานไม่เกิน25นาทีอาจเป็นภาพยนตร์ ที่ถูกจัดแบ่งเป็นส่วนๆเช่น หรือเป็น พาทค่ะ เช่น prat 1/10 ทำนองนี้ หรืออีกในความหนึ่งในทำนองเดียวกัน คลิปวิดีโอคือภาพเคลื่อนไหวที่มีเสียงซึ่งถูกบันทึกไว้ด้วยอุปกรต่างๆเช่น กล้องถ่ายวิดีโอ โทรศัพท์ซึ่งมีกล้องและแอฟฟิเคชั่นถ่ายวิดีโอหรืออุปกรณ์อื่น  ๆ  ความสั่นยาว ต่างกันไป
6.  ไฟล์ที่มีภาพและเสียงอยู่ในไฟล์เดียว มักมีขนาดไฟล์ไม่ใหญ่มาก เพราะระยะเวลาในการเล่นไม่นาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น